โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections) คือโรคที่มีการแพร่กระจายติดต่อกันระหว่างบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันเป็นหลัก (Unprotected sexual contact) หรืออาจติดต่อผ่านทางช่องทางอื่น ๆ เช่นการสัมผัสสารคัดหลั่ง และการติดต่อทางเลือด เป็นต้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคหากตรวจพบช้า หรือปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสุขภาพของระบบประสาท, ระบบหลอดเลือดหัวใจ, ความสามารถในการมีบุตร (Infertility), เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, นกเขาไม่ขัน หรือแม้กระทั่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ได้
คนที่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการและมักไม่รู้ตัว หากมีอาการ อาการที่พบบ่อยคือ การมีของเหลวหรือหนอง (Discharge) ไหลออกมาจากช่องคลอดหรือทางเดินปัสสาวะ มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ และปวดบริเวณท้องน้อย (Lower Abdomen) เป็นต้น
“คนที่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ และมักไม่รู้ตัว”
ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครทราบตัวเลขที่แน่นอนว่าคนไทยมีการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) มากน้อยเพียงใด เพราะผู้ป่วยจำนวนมากอยู่ในระยะไม่มีอาการและไม่ได้เข้ารับการตรวจ อย่างไรก็ตาม เราอาจสามารถอ้างอิงได้จากสถิติในรายงานประจำปี พ.ศ.2565 ของ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ ดังนี้
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตัวเลขที่รายงานอาจเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง เพราะยังมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่ยังไม่มีอาการและยังไม่รู้ตัว อีกทั้งอาจมีผู้ติดเชื้อที่อยู่นอกระบบการรายงานของกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย
นอกจากนี้ข้อมูลจากบางการศึกษา ที่ศึกษาเฉพาะกลุ่มและเฉพาะพื้นที่ อย่างเช่น การศึกษาในกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศ (Sex worker) ในพื้นที่เมืองพัทยา ระหว่าง ปี พ.ศ. 2559-2563 พบการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) สูงถึง 172.41 ครั้ง/1,000 ตัวอย่าง และพบการติดเชื้อซิฟิลิส (Syphilis) ถึง 154.93 ราย/1,000 บุคคล-เดือน
ผู้ชายหลายคนที่มีภาวะนกเขาไม่ขัน หรืออาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ นอกจากสาเหตุหลักๆ อย่างปัญหาเรื่องระบบหลอดเลือด ที่เป็นผลมาจาก โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ยาที่ใช้ และภาวะฮอร์โมนพร่องแล้ว สาเหตุที่คนมักมองข้ามไปอย่างการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน (Gonorrhea) และหนองในเทียม (Non-Gonococcal Urethritis) ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศได้เช่นเดียวกัน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ แต่ในบางกรณี การติดเชื้อเอชไอวี (HIV), เชื้อไวรัสตับอักเสบ, หนองใน (Gonorrhea) และหนองในเทียม (Non-Gonococcal Urethritis) สามารถทำให้เกิดภาวะนกเขาไม่ขันได้ หากการติดเชื้อนั้นๆ ทำให้ต่อมลูกหมากติดเชื้อไปด้วยและเกิดการอักเสบของต่อมลูกหมาก (Prostatitis) ซึ่งนอกจากจะทำให้มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวแล้ว ยังทำให้หลั่งเร็วได้อีกด้วย (Premature Ejaculation)
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะสำคัญของระบบสืบพันธ์เพศชาย เชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะ (Urethra) ในเพศชายเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถเข้าสู่ร่างกายทางปลายอวัยวะเพศ จากนั้นเข้าสู่ท่อปัสสาวะ (Urethra) และแพร่กระจายไปจนเกิดการอักเสบติดเชื้อของต่อมลูกหมากได้
ต่อมลูกหมากที่อักเสบหรือติดเชื้อ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บทั้ง ก่อน ระหว่าง หรือแม้กระทั่งหลังมีเพศสัมพันธ์แล้ว นอกจากนี้การติดเชื้อ เช่น หนองใน (Gonorrhea) อาจทำให้เจ็บและมีหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ และจากตำแหน่งที่ต่อมลูกหมากตั้งอยู่เมื่อเกิดการอักเสบสามารถทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศชายลดลง กลไกทั้งหมดนี้ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการแข็งตัวและภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้
ในผู้ติดเชื้อที่อาการชัดเจนมักได้รับการตรวจและรักษาอย่างรวดเร็ว แต่ในผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย และมีปัญหาเรื่องการแข็งตัว (Erectile Dysfunction) หรือหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation) มักไปตระเวนรักษาด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยช็อคเวฟ (Shockwave), การทำ P-Shot (การฉีด PRP หรือเกร็ดเลือดเข้มข้นเข้าองคชาตเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ), หรือให้ฮอร์โมนทดแทน แต่ไม่ได้ผลเพราะสาเหตุหลักอย่างการอักเสบของต่อมลูกหมาก (Prostatitis) และภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง (CPPS: Chronic Pelvic Pain Syndrome) ไม่ได้รับการแก้ไข
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ ทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ และผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย เปลี่ยนคู่นอนหลายคน หรือในผู้ที่กำลังวางแผนแต่งงานหรือมีบุตร เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อสู่คู่รักและบุตร เนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคสามารถถ่ายทอดสู่ทารกในครรภ์ได้ด้วย
“ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ ทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ และผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ”
retroviral syndrome อาการจะคล้ายเป็นไข้หวัด ผู้ติดเชื้อจะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ และอาจมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวหลังมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถุงยางขาด หลุด หรือรั่ว หรือใช้เข็มฉีดยาอย่างไม่ปลอดภัย ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ และเลือกวิธีการตรวจหาเชื้อ HIV ที่เหมาะสม เพราะแต่ละวิธีจะมีความไวในการตรวจพบเชื้อต่างกัน
“1 ใน 10 ของเพศชาย และ 5 ใน 10 ของเพศหญิงที่ติดเชื้อหนองใน จะไม่แสดงอาการ”
“กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อ Chlamydia เพศชายไม่แสดงอาการ และกว่า 70% ของเพศหญิงไม่แสดงอาการเช่นกัน”
ข้อมูลอ้างอิง
“ มั่นใจ Max Wellness Clinic” “มาตรฐานโรงพยาบาล ในราคาคลินิก”
หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถาม ท่านสามารถกรอกรายละเอียดทางด้านล่าง ทางเราจะติดต่อกลับไปโดยเร็วที่สุด
All rights reserved © 2024 Max Wellness Clinic