การวินิจฉัยและการรักษาอาการติดเซ็กส์

สิ่งแรกที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ‘การติดเซ็กส์’ คือแพทย์จะไม่ได้ทำการวินิจฉัยอาการติดเซ็กส์จากจำนวนครั้งหรือความถี่ในการช่วยตัวเองหรือการมีเพศสัมพันธ์ ในทางการแพทย์เองก็ยังไม่มีความเห็นตรงกันว่าอาการติดเซ็กส์ควรจะมีเกณฑ์วินิจฉัยอย่างไร ศัพท์บัญญัติทางการแพทย์ก็ยังไม่ตรงกัน บางฝ่ายเรียกว่า Hypersexuality บางฝ่ายก็เรียกว่า Sexual addiction หรือ Sexual Compulsivity

เกณฑ์วินิจฉัยจาก ICD-11 และ DSM-5

เกณฑ์กลางที่พอจะใช้ยึดในการวินิจฉัยได้ คือเกณฑ์ของ ICD-11 และ DSM-5

ICD-11 (International Classification of Diseases) บัญชีจำแนกโรคทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาทางสุขภาพ

DSM-5 (Diagnostic & Statistical Manual of Mental Disorders) หนังสือรวบรวมเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตของสมาคมจิตเวชศาสตร์อเมริกัน

อาการที่เข้าเกณฑ์ Compulsive Sexual Behavior Disorder ใน ICD-11

  1. ไม่สามารถควบคุมแรงกระตุ้นที่นำไปสู่พฤติกรรมทางเพศได้
  2. มีพฤติกรรมทางเพศเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งในชีวิต จนถึงขั้นปล่อยปละละเลยมิติด้านอื่น ๆ เช่น สุขภาพ และอนามัยส่วนบุคคล
  3. ทำพฤติกรรมทางเพศนั้นซ้ำ ๆ ถึงแม้ตัวเองจะไม่ได้ชอบหรือไม่ได้มีความสุข
  4. มีอาการมาอย่างน้อย 6 เดือน และเป็นหนักถึงขั้นกระทบต่อตัวเอง ครอบครัว สังคม การศึกษา และหน้าที่การงาน

เกณฑ์วินิจฉัยใน DSM-5 (ฉบับที่เสนอ)

A. อาการต้องมีติดต่อกัน 6 เดือน อย่างน้อย 4 ใน 5 ข้อ

  • ใช้เวลาแทบทั้งวันไปกับจินตนาการและความปรารถนาทางเพศ
  • มีกิจกรรมทางเพศเพื่อแก้อารมณ์ด้านลบ เช่น ความกังวล ภาวะซึมเศร้า ความเบื่อ
  • มีกิจกรรมทางเพศเพื่อแก้เหตุการณ์เครียดในชีวิต
  • พยายามควบคุมตัวเองแต่ล้มเหลว
  • มีเซ็กส์โดยไม่สนใจว่าจะเกิดอันตรายต่อตัวเองหรือผู้อื่น

B. พฤติกรรมมีผลกระทบร้ายแรงต่อสังคมและหน้าที่การงาน C. อาการต้องไม่เป็นผลมาจากโรคจิตเวชอื่น ๆ หรือสารเสพติด D. วินิจฉัยในคนอายุเกิน 18 ปีขึ้นไป

การรักษาอาการติดเซ็กส์

  1. การใช้ยา: การให้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทในสมอง
  2. การทำ CBT (Cognitive Behavior Therapy): การบำบัดจิตโดยปรับความคิดและพฤติกรรม

ถ้าคุณสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคติดเซ็กส์ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม

นพ.ธนาคม สุขเจริญ
แพทย์ด้านสุขภาพทางเพศ
และแพทย์เฉพาะทาง Preventive Medicine
Max Wellness Clinic

 

อ้างอิง

https://www.who.int/classifications/icd/en/

https://www.psychiatry.org/psychiatrists/practice/dsm

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อพูดถึงการขริบอวัยวะเพศชาย การเลือกวิธีที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการขริบแบบ Sleeve, Free Hand หรือ Stapler แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป การขริบแบบ Sleeve เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลลัพธ์ที่เรียบเนียนและดูเป็นธรรมชาติ ขณะที่การขริบแบบ Free Hand อาจเป็นทางเลือกที่รวดเร็วและไม่ซับซ้อน แต่ต้องการทักษะและความชำนาญของแพทย์สูง ส่วนการขริบแบบ Stapler นั้นโดดเด่นด้วยความรวดเร็วและความแม่นยำ แต่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทาง การตัดสินใจเลือกวิธีใดควรพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงสุขภาพของผู้ป่วย ความต้องการของผู้ป่วย และความชำนาญของแพทย์